วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อสกัดกั้นในโรงเรียน

Workshop 4 รายการอ้างอิง สิโรดม มณีแฮดและปรัชญนันท์ นิลสุข. (2562) การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อสกัดกั้นในโรงเรียน. วารสารการสื่อสารมวลชนคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2562 หน้า 46-67 Abstract การกลั่นแกล้งกันบนการสื่อสารสังคม คือ พฤติการณ์ที่ก่อความรังเกียจแก่จิตใจของผู้อื่นหรือความเสียหายผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งออกเป็นการทะเลาะ, ทำลายความสัมพันธ์, กีดกัน, เผยแพร่ข้อมูลเท็จเชิงสบประมาท, ส่งต่อเรื่องลับเฉพาะ, ใช้อุบายหลอก, ข่มขู่, ก่อกวน, คุกคามทางเพศและการเมือง, การแสร้งหรือสวมรอย, สร้างบัญชีใช้งานปลอมและคัดลอกหรือขโมยอัตลักษณ์ โดยสื่อสังคมในโรงเรียน ได้แก่ เฟซบุ๊ก, ยูทูบ, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์, ไลน์, อีเมลและอื่นๆ สำหรับเทคโนโลยีสกัดกั้นการกลั่นแกล้งบนการสื่อสารสังคม คือ การนำซอฟแวร์มาวิเคราะห์เนื้อหาของการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ในเชิงลบแล้วกักกันอย่างอัตโนมัติไม่ให้ปรากฏต่อสาธารณะ ประกอบด้วยประเภทสืบจับข้อมูลข้อความ, ประเภทสืบจับข้อมูลภาพ, ประเภทสืบจับข้อมูลวิดีโอและประเภทสืบจับข้อมูลเสียง ทั้งนี้ การศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยสกัดกั้นการกลั่นแกล้งกันบนสื่อสารสังคมของนักเรียนในโรงเรียนทั้งในลักษณะข้อความ, ภาพ, วิดีโอและเสียงนี้ เจาะจงเฉพาะทางสื่อออนไลน์อย่างเป็นทางการของโรงเรียน การกลั่นแกล้งกันบนการสื่อสารสังคม คือ พฤติการณ์ที่ก่อความรังเกียจแก่จิตใจของผู้อื่นหรือความเสียหายผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งออกเป็นการทะเลาะ, ทำลายความสัมพันธ์, กีดกัน, เผยแพร่ข้อมูลเท็จเชิงสบประมาท, ส่งต่อเรื่องลับเฉพาะ, ใช้อุบายหลอก, ข่มขู่, ก่อกวน, คุกคามทางเพศและการเมือง, การแสร้งหรือสวมรอย, สร้างบัญชีใช้งานปลอมและคัดลอกหรือขโมยอัตลักษณ์ โดยสื่อสังคมในโรงเรียน ได้แก่ เฟซบุ๊ก, ยูทูบ, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์, ไลน์, อีเมลและอื่นๆ สำหรับเทคโนโลยีสกัดกั้นการกลั่นแกล้งบนการสื่อสารสังคม คือ การนำซอฟแวร์มาวิเคราะห์เนื้อหาของการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ในเชิงลบแล้วกักกันอย่างอัตโนมัติไม่ให้ปรากฏต่อสาธารณะ ประกอบด้วยประเภทสืบจับข้อมูลข้อความ, ประเภทสืบจับข้อมูลภาพ, ประเภทสืบจับข้อมูลวิดีโอและประเภทสืบจับข้อมูลเสียง ทั้งนี้ การศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยสกัดกั้นการกลั่นแกล้งกันบนสื่อสารสังคมของนักเรียนในโรงเรียนทั้งในลักษณะข้อความ, ภาพ, วิดีโอและเสียงนี้ เจาะจงเฉพาะทางสื่อออนไลน์อย่างเป็นทางการของโรงเรียน นอกจากนี้ การจัดการสกัดกั้นที่มีประสิทธิภาพนั้น นักเรียนผู้ใช้สื่อสารสังคมควรมีพื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อ ขณะที่ผู้ใหญ่ ครูหรือเจ้าหน้าที่ควรเป็นนักจัดการระบบเทคโนโลยีขั้นปานกลางถึงสูง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก