ระบบประกันคุณภาพ
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันราชภัฏนครปฐม CreatorName: ฉวีวรรณ บุญคุ้ม SubjectThaSH: ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา. Classification :.DDC: 378.107 ThaSH: มาตรฐานการทำงาน. ThaSH: ประกันคุณภาพการศึกษา DescriptionAbstract: การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันราชภัฏนครปฐม มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบประกันคุณภาพการศึกษา 2) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันราชภัฏนครปฐม ทำการศึกษาโดยใช้เทคนิค triangulation ด้วยวิธีการศึกษาหลายวิธี (multi-methods) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสอบถาม สัมภาษณ์ และการศึกษาจากเอกสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากอาจารย์และผู้บริหารของสถาบันราชภัฏนครปฐมที่ปฏิบัติราชการอยู่ในปีการศึกษา 2542 ผู้บริหารซึ่งเป็นตัวแทนในคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันราชภัฏนครปฐม ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันราชภัฏนครปฐม และจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสัมภาษณ์ และแบบสัมภาษณ์ ผลจากการศึกษาพบว่า สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอยู่ในขั้นตอนของการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพ โดยสถาบันราชภัฏนครปฐมได้จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันขึ้น มีการแต่งตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นในระดับสถาบัน ระดับคณะ ศูนย์ สำนัก พร้อมทั้งกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการและอนุกรรมการดังกล่าว สำหรับการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในสถาบันให้หน่วยงานกำหนดแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาของตนเอง มีการพิจารณากำหนดปัจจัยตัวชี้วัดและหลักฐานแสดงให้มีความเหมาะสมทั้งกับหน่วยงาน มีการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับอาจารย์และบุคลากรของหน่วยงาน รวมทั้งการเตรียมการติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานของตนเอง ผลการดำเนินการในปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพที่กำหนดไว้ทั้ง 13 ปัจจัย พบว่าสถาบันได้มีการดำเนินการตามปัจจัยดังกล่าวแล้วทั้ง 13 ปัจจัย โดยปัจจัยที่ 1 (ปรัชญา พันธกิจและวัตถุประสงค์) มีผลการดำเนินงานทุกเรื่องอยู่ในระดับที่พอใช้ได้ ปัจจัยที่ 2 (หลักสูตร) ปัจจัยที่ 3 (อาจารย์) ปัจจัยที่ 5 (การจัดการเรียนการสอน) และปัจจัยที่ 9 (การเงินและงบประมาณ) มีผลการดำเนินงานทุกเรื่องส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่พอใช้ได้ ปัจจัยที่ 12 (การวิจัย) มีผลการดำเนินงานอยู่ทั้งในระดับที่พอใช้ได้และต้องปรับปรุงแก้ไข ปัจจัยที่ 6 (กิจการนักศึกษา) ปัจจัยที่ 8 (การบริหารและการจัดการ) ปัจจัยที่ 10 (บุคลากรสนันสนุน) และปัจจัยที่ 11 (อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม) มีผลการดำเนินงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ปัจจัยที่ 4 (นักศึกษา) ปัจจัยที่ 7 (แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้) และปัจจัยที่ 13 (การติดตมและรายงาน) มีผลการดำเนินงานทั้งหมดอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงแก้ไข สำหรับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันได้แก่ ปัจจัยหลัก 13 ปัจจัย โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบประกันคุณภาพมากที่สุด คือ อาจารย์ รองลงมาคือการจัดการเรียนการสอน และการบริหารจัดการของสถาบัน อุปสรรคที่สำคัญในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบัน ได้แก่ การขาดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการประกันคุณภาพการศึกษา ความไม่ชัดเจนในเรื่องนโยบายและระบบประกันคุณภาพการศึกษา คุณภาพของนักศึกษาต่ำกว่าสถาบันอุดมศึกษา อาจารย์และบุคลากรของสถาบันยังไม่เห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา และไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาเท่าที่ควร สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ สถาบันต้องให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษาโดยถือเป็นนโยบายสำคัญ สถาบันต้องมีแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและครอบคลุมภารกิจของสถาบันทุกด้าน มีการติดตามงานอย่างจริงจัง รวมทั้งบุคลากรจากทุกหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือ โดยสถาบันต้องสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์และบุคลากรของสถาบันเห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา มีการประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์และบุคลากรของสถาบันได้รับทราบเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีการให้ความรู้และคำแนะนำในการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนอย่างเพียงพอจากผู้ที่มีความชำนาญในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา PublisherNakhon Pathom Rajabhat University, Academic Resources and Information Technology Center Address: NAKHONPATHOM Email: libnpru55@gmail.com DateCreated: 2551-09-19 Modified: 2551-10-28 Issued: 2551-09-19 Typeงานวิจัย/Research report Formattext/html SourceCallNumber: 378.107 ฉ179ป Languagetha CoverageSpatial: นครปฐม ThesisGrantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม Rights©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก